Sunday, June 30, 2013

สี่ประตูเมืองโคราช

                    ประตูพลแสน


เป็นประตูเมืองที่ตั้งอยู่ทางทิศเหนือ เรือกอีกชื่อว่า "ประตูน้ำ"ในอดีตเป็นทางออกสู่ท่าน้ำ มีท่าอาบน้ำของชาวเมืองและมีลานอาบน้ำช้างเป็นประตูที่มีความแข็งแกร่งขนาดข้าศึกจะตีได้ ต้องใช้กำลัง พลเป็นแสนคน

ประตูชัยณรงค์(ประตูผี)



ตั้งอยู่ทางทิศใต้ เรียกอีกชื่อว่า "ประตูผี"เพราะในสมัยอดีตมีประเพณีว่าเมื่อมีคนตายในเมืองห้ามเผาหรือฝังในเมือง ต้องออกไปจัดงานศพนอกเมือง โดยให้นำออกประตูนี้ประตูเดียว ดั่งจะเห็นจากวัดที่ตั้งอยู่ภายในเขตกำแพงเมือง


                    ประตูพลล้าน



ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออก เรียกอีกชื่อว่า "ประตูทุ่งสว่าง"มีคำกล่าวคล้ายประตูพลแสน แต่เป็นประตูที่แข็งแกร่งมาก ถ้าข้าศึกจะตีได้ต้องใช้กำลังพลเป็นล้านคน

                   ประตูชุมพล


เป็นประตูเมืองดั่งเดิมประตูเดียวที่คงเหลืออยู่จนถึงในปัจจุบันนี้ ตั้งอยู่หลังอนุสารีย์ท้าวสุรนารีเป็นประตูเมืองด้านทิศตะวันตกของเมือง"โคราช"สร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเป็นประตูที่สำหรับเตรียมกำลังพล และออกทำศึกทางประตูนี้ มีความเชื่อว่าเมื่อลอดประตูชุมพลไปทำศึกแล้วจะแคล้วคลาดได้กลับบ้านเมือง

Saturday, June 29, 2013

ศาลหลักเมืองนครราชสีมา





 สร้างขึ้นเมื่อครั้งสร้างเมืองนครราชสีมาระหว่างปี พ.ศ. 2199-2231 ในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ต่อมาเจ้าอนุวงศ์ได้ยกกองทัพมายึดเมืองนครราชสีมา เมื่อ พ.ศ. 2369 ได้ทำลายเสาหลักเมือง โดยโค่นล้มเสาหลักเมือง จากการเล่าสู่กันมาจาก นายแก้ว เพชรโสภณคนดูแลศาลเล่าว่า ศาลเดิมเป็นศาลไม้เล็ก ๆ มีเสา 6 ต้น ปลูกเป็นโรงเรือนพื้นเป็นดิน หลังคามุงสังกะสี ฝากระดานเกร็ด มีประตู 1 ประตู เสาหลักเมืองถูกแขวนโยงไว้ด้วยเชือกหนัง ทั้งหัวเสาและโค่นเสา โดยหันหัวเสาไปทางประตูไชยณรงค์ หรือ ประตูผี(ทิศใต้) ส่วนโคนเสาอยู่ทางทิศปะตีน(ทิศเหนือ) สภาพภายในค่อนข้างมืดสลัว มีกลิ่นหอมธูปเทียนอบอวน บริเวณหน้าศาลเป็นโคลน มีต้นจันทร์ปลูกเรียงรายตามถนน มีเสาหลักร้อย(เสาหลักแรกของเมืองนครราชสีมา ปักไว้ฝั่งตรงข้ามถนน) เสานี้จะปักไว้ข้างถนนเป็นระยะจนถึงบ้านหลักร้อย ทางทิศตะวันตกของศาลเป็นป่า มีโรงหนัง โรงลิเก คนเมืองนครราชสีมานับถือศาลหลักเมืองนี้มาก คนผ่านไปมาจะต้องกราบไหว้ โดยเฉพาะเกวียนเทียมวัว ถ้าไม่กราบไหว้เกวียนจะติดล่ม วัวจะล้มลุกเดินไปไม่ได้จนกว่าจะเซ่นไหว้เสียก่อน ในการเสด็จพระราชดำเนินโดยรถไฟ ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม ร.ศ. 119 ทรงได้เสด็จทอดพระเนตรศาลหลักเมือง ทรงจุดเทียนบูชาเทพารักษ์ แล้วเสด็จทรงม้าพระที่นั่งกลับทางประตูชุมพล ต่อมาเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2446 (ร.ศ.122) พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จมาทรงสังเวย ขณะนั้นพระองค์ทรงดำรงพระยศเป็นมกุฏราชกุมาร เมื่อ ปี พ.ศ. 2506 ประชาชนพ่อค้า ข้าราชการ ได้ร่วมกันสร้างศาลขึ้นใหม่แทนศาลเดิมซึ่งสร้างด้วยไม้ได้ชำรุดทรุดโทรมลง เมื่อสร้างเสร็จแล้วได้ทำพิธีอัญเชิญขึ้นศาลใหม่ พระบาทสมเด็ขพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วย สมเด็จพระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จมาทำพิธีสังเวย เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2506 เวลา 09.30 น. และกรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน เมื่อวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2480

Wednesday, June 26, 2013

วัดศาลาลอย โคราช




 เป็นวัดเก่าแก่ที่มีอายุนมากว่า 200 ปี เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ที่ชาวโคราชเคารพนับถืออย่างมาก เนื่องจากวัดศาลาลอยเป็นวัดที่ท้าวสุรนารีพร้อมด้วยเจ้าพระยามหิศราธิบดีสวามีของท่าน สร้างขึ้นหลังจากชนะข้าศึก รบชนะกองทัพของเจ้าอนุวงศ์ เมื่อปี พ.ศ. 2370 เมื่อครั้งท้าวสุรนารี หรือ คุณย่าโม เสร็จศึกสงครามจากทุ่งสัมฤทธิ์ ขณะยกทัพกลับเมืองนครราชสีมา ได้แวะพักบริเวณท่าตะโก และได้สั่งให้ทหารทำแพเป็นรูปศาลาเสี่ยงทายลอยไปตามลำตะคอง พร้อมตั้งจิตอธิฐาน หากแพรูปศาลานี้ ลอยไปติดอยู่ ณ ที่แห่งใด จะสร้างวัดไว้เป็นอนุสรณ์ ซึ่งแพได้ลอยไปติดอยู่ริมฝั่งขวาของลำตะคอง ซึ่งเป็นวัดร้าง จึงได้สร้างพระอุโบสถขึ้น และได้นมัสการพระประธาน และพระบรมสารีริกธาตุของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มาประดิษฐานไว้ และได้ชื่อวัดศาลาลอยจากนั้นมา ภายหลังที่ท่านได้ถึงแก่อสัญกรรมแล้วมีการสร้างอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี และอนุสรณ์สถานเจดีย์บรรจุอัฐิของท้าวสุรนารีขึ้นภายในวัด วัดแห่งนี้จึงเป็นที่เคารพสักการะของผู้มาเที่ยวเมืองโคราชสืบมา ณ ปัจจุบัน



Saturday, June 22, 2013

ถ้ำหินงอก หินย้อย วัดพายัพ โคราช



     ถ้ำหินงอก หินย้อย แห่งนี้ พระราชวิมลโมลี เจ้าอาวาสวัดพายัพ เมืองโคราชได้ไปนำหินที่ใช้ทำลูกนิมิต หินปะดับสวน และ หินอ่อนอุโบสถซึ่งไปพบหินงอกหินย้อยที่ชาวบ้านเขาวง ต.หน้าพระลาน อ. พระพุทธบาท จ. สระบุรี นำมาตั้งขายโดยหินเหล่านี้ได้มาจากการระเบิดหินภูเขาซึ่งรัฐบาลให้สัมปทาน แก่บริษัทโรงงานโม่หินผลิตปูน ซึ่งภายในมีหินงอกหินย้อยสีสันสวยงามจำนวนมาก หลวงพ่อเจ้าคุณวัดพายัพ จึงคิดหาวิธีเก็บรักษาหินงอกหินย้อยเหล่านี้ ไว้ให้คนรุ่นหลังได้ดูโดยสร้างกุฏิวายุภักษ์สำนักงานเจ้าอาวาสขึ้น ทำชั้นล่างให้เป็นถ้ำหินงอก หินย้อย ซึ่งได้ออกแบบเขียนแปลนและควบคุมการก่อสร้างเองทุกขั้นตอน  ภายในถ้ำหินงอกหินย้อย จะมีพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์หลายองค์เป็นหินทรายแกะสลัก ลงรักปิดทอง สร้างในสมัยทวาราวดี ลพบุรี อยุธยา อายุกว่า 300 ปี เดิมอยู่ในอุโบสถหลังเก่าวัดพายัพ นำมาประดิษฐานไว้ให้ประชาชนชาวไทยชาวต่างชาติ นักเรียน นักศึกษา มานมัสการทำบุญไหว้พระปิดทอง ถวายสังฆทานเนื่องในโอกาสสำคัญ สนทนาธรรม ทำสมาธิ จึงถือว่าเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่น่าภาคภูมิใจของชาวโคราชอีกแห่งหนึ่ง

Friday, June 21, 2013

อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี

  


   อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารีสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2477 ผู้ออกแบบรูปปั้นเหมือนท้าวสุรนารีและหล่อ คือ ศาสตราจารย์ ศิลป์พีระศรี กับพระเทวานิมิตลาภ นายช่าง นายช่างแห่งกรมศิลปากร หล่อด้วยทองแดงเป็นรูปท้าวสุรนารี ไว้ทรงผมตามความนิยมสมัยนั้น แต่งกายด้วยเครื่องยศที่ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระนั้งเกล้าเจ้าอยู่หัว ราชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นผ้านุ่งกรองทองมีลายเชิง เสื้อกรองทอง ผ้าห่มสะไบห่มเฉียงซ้าย ใส่ตุ้มหู ใส่ตระกรุด ใส่พิสมรมงคล 2 นิ้วก้อย นิ้วนางทั้งสองข้างสวมแวนนิ้วละวงมือขวากุมดาบซึ้งด้ามจำหลักลวดลายสอดอยูในฝัก มือซ้ายท้าวสะเอวอยู่ในลักษณะผึ่งผาย เป็นที่เคารพสักการะของชาวโคราช และชาวไทยทั้งประเทศ และจะมีการจัดงานฉลองวันแห่งชัยชนะของท้าวสุรนารีประจำทุกปี ระหว่างวันที่ 23 มีนาคม ถึง 3 เมษายน ของทุกปี